ผูกขาดเพราะรักโลก : ความร่วมมือทางธุรกิจด้านความยั่งยืน และกฎหมายแข่งขันทางการค้า
ผูกขาดเพราะรักโลก : ความร่วมมือทางธุรกิจด้านความยั่งยืน และกฎหมายแข่งขันทางการค้า
เศรษฐศาสตร์ ท่ามกลางสภาวะราคาพลังงานที่พุ่งสูง ภัยธรรมชาติที่นับวันยิ่งทวีความถี่และรุนแรงขึ้น ทำให้โจทย์การปรับตัวให้เข้ากับสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและเร่งเปลี่ยนไปใช้โมเดลเศรษฐกิจสีเขียว เป็นโจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลและเอกชนทั่วโลกมองข้ามไม่ได้ และการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น ย่อมต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วน ดังนั้น ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าจึงได้จัดงานสัมมนาหัวข้อ “กฎหมายแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและผู้บังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าทั่วโลก เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและการตระหนักรู้เกี่ยวกับบทบาทของหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าในการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยในงานสัมมนาได้หยิบยกหัวข้อ “ความร่วมมือทางธุรกิจด้านความยั่งยืน” ขึ้นอภิปราย
โดยในงานได้มีการหารือประเด็นว่า กฎหมายการแข่งขันทางการค้านั้นอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือไม่ เนื่องจากผู้ประกอบการอาจกลัวการเข้าข่ายละเมิดกฎหมายการแข่งขัน และไม่กล้าร่วมมือกันเพื่อเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งในไทยเองมีโทษสูงสุดถึงจำคุก โดยในความเป็นจริง ความร่วมมือทางธุรกิจที่ไม่ส่งผลให้เกิดการผูกขาดหรือลดการแข่งขัน ย่อมไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งหน่วยงานกำกับตลาดและคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์และคณะกรรมาธิการยุโรปด้านการแข่งขัน ได้ตีพิมพ์ร่างประกาศว่าด้วยความร่วมมือที่มีจุดประสงค์สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่ออธิบายลักษณะของการร่วมมือที่ไม่ผิดกฎหมาย อาทิ มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่นำไปใช้กีดกันผู้ประกอบการอื่น หรือการร่วมมือวิจัยและพัฒนาที่ไม่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจ โดยหน่วยงานของประเทศเนเธอร์แลนด์ได้จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาทางกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการด้านนี้อีกด้วย
อย่างไรก็ดี อีกคำถามหนึ่งที่ตั้งขึ้นมาคือ สามารถยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันต่อการร่วมมือที่ลดการแข่งขันได้หรือไม่ หากความร่วมมือนั้นเป็นประโยชน์ต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยความตกลงประเภทนี้ถูกมองว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าความตกลงที่ไม่ลดการแข่งขันในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงกว้างและเป็นรูปธรรม เช่น การตกลงเพื่อเลิกผลิตพลาสติกประเภทที่รีไซเคิลไม่ได้ หรือการตกลงขายแต่สินค้าที่ได้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งในประเทศออสเตรเลีย ผู้ประกอบการที่ต้องการทำข้อตกลงลักษณะนี้ สามารถยื่นต่อคณะกรรมการการแข่งขันและคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศออสเตรเลียเพื่อให้พิจารณา โดยคณะกรรมการฯ จะเปรียบเทียบผลกระทบของความร่วมมือนั้นอย่างรอบด้าน ซึ่งรวมถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่นคณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้สมาคมผู้ผลิตและนำเข้าแบตเตอรี่ตกลงกันเพื่อขึ้นราคาจำหน่ายแบตเตอรี่และนำส่วนต่างนั้นมาลงทุนสร้างศูนย์เก็บและรีไซเคิลและสัญญาว่าจะค้าขายกับผู้ประกอบธุรกิจที่ร่วมโครงการนี้เท่านั้น โดยคณะกรรมการพิจารณาว่าผลกระทบเชิงบวก เช่นการลดการรั่วไหลของสารเคมีในแบตเตอรี่ การจัดตั้งศูนย์รีไซเคิล รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ด้านความสำคัญของการ
ข่าวเศรษฐศาสตร์ที่น่าสนใจ : ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ได้แต่นั่งขำที่เกียวโต ย้อนตำนานคริส โปตระนันทน์